วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างเศรษฐกิจฟิลิปปินส์


โครงสร้างเศรษฐกิจฟิลิปปินส์





          ฟิลิปปินส์มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน หรือประมาณ 96.7 ล้านคน และมีอัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 6% ต่อปีทั้งนี้ ฟิลิปปินส์มีการพึ่งพาการบริโภคในประเทศเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการบริโภคต่อ GDP สูงถึงร้อยละ 73 รองลงมาคือ การส่งออก การสะสมทุน และการใช้จ่ายภาครัฐทั้งนี้ ระบบเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์มีลักษณะคล้ายไทยคือเป็นประเทศเกษตรกรรมโดยมีประชากรร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร9 สำหรับความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทยนั้น ฟิลิปปินส์เป็นคู่ค้าล าดับที่ 18 ของไทย ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าล าดับที่ 8 ของฟิลิปปินส์10

          ประชากรฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบด้านทักษะ ภาษาอังกฤษและภาษาสเปน ฟิลิปปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศเพื่อการพัฒนาประเทศ เป็นส่วนใหญ่ดังนั้น รายได้ของแรงงานฟิลิปปินส์ที่ส่งกลับประเทศ (Cash Remittance) จึงมีส่วนส าคัญต่อการใช้ จ่ายเพื่อการบริโภคในประเทศ ทั้งนี้ แหล่งที่มาของรายได้โอนกลับ 5 อันดับแรก11 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ซาอุดิอาระเบีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และสิงคโปร์ ตามล าดับ


          สำหรับด้านการพัฒนาประเทศนั้น The National Economic and Development Authority (NEDA)ได้จัดทำแผนพัฒนาปี 2554-2559 ขึ้น (The Philippine Development Plan 2011-2016)
เพื่อใช้เป็นกรอบ กำหนดทิศทางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แผนดังกล่าวเน้นเสริมสร้างธรรมภิบาลและต่อต้านการทุจริต โดยมี ยุทธศาสตร์หลัก 3 ประการ ดังนี้ 
(1) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงและยั่งยืน และสร้างโอกาสการจ้าง งานอย่างเป็นธรรม 

(2) การพัฒนาพื้นที่ห่างไกลเพื่อลดความแตกต่างของรายได้ และความเลื่อมล้ าทางสังคม
เพื่อให้แน่ใจว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะสามารถช่วยลดปัญหาความยากจนได้

(3) การเพิ่มประสิทธิผลของโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (Social Safety Nets) เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ไม่ สามารถปรับตัวให้ทันกับการเจริญเติบโตที่รวดเร็วของเศรษฐกิจ

สภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์


สภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์








          เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในปี 2553-2558 ขยายตัวเฉลี่ยถึง 6.2% ต่อปี สวนทางกับเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง ขณะที่ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ฟิลิปปินส์จะกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย ด้วยอัตราขยายตัวเฉลี่ย 6.5% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า จึงมีการคาดกันว่าฟิลิปปินส์จะเป็นเสมือน "มหัศจรรย์แห่งเอเชีย" (The Next Asian Miracle) ในระยะข้างหน้า ทำให้ฟิลิปปินส์กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง หลังจากที่ถูกขนานนามว่าเป็นผู้ป่วยของเอเชียในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

          ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟิลิปปินส์มีจุดเด่นและศักยภาพหลายด้านที่จะเกื้อหนุนการขยายตัวของ เศรษฐกิจให้กลายมาเป็นคลื่นลูกใหม่ของเอเชีย ได้แก่ 

1) มีการปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจัง ประธานาธิบดี เบนิกโน อากีโน ให้ความสำคัญอย่างมากกับการปราบปรามคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นรากเหง้าของหลายปัญหาในฟิลิปปินส์มาอย่างยาวนาน ส่งผลให้ผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นโดยองค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ล่าสุดในปี 2557 พบว่าฟิลิปปินส์อยู่อันดับ 85 ขยับขึ้นมากว่า 60 อันดับภายในเวลา 7 ปี จากที่เคยอยู่ในอันดับ 141 ในปี 2551 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวช่วยให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของฟิลิปปินส์ ซึ่งจัดอันดับโดย World Economic Forum (WEF) เพิ่มขึ้นจากอันดับ 87 ในปี 2551 มาอยู่ที่อันดับ 47 ของโลกในปัจจุบัน

2) ประชากรมีคุณภาพ นอกจากฟิลิปปินส์มีประชากรมากถึงกว่า 102 ล้านคน (อันดับ 12 ของโลก) แล้ว ชาวฟิลิปปินส์ยังมีการศึกษาและสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี สะท้อนจากอัตราการรู้หนังสือ ซึ่งอยู่ที่ 96.3% สูงเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์และไทย รวมถึงคะแนนสอบ TOEFL ของชาวฟิลิปปินส์เฉลี่ยปี 2557 อยู่ที่ 89 คะแนน จากคะแนนเต็ม 120 คะแนน สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ คุณภาพของประชากรจึงนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้บรรษัทข้ามชาติเข้าไป ลงทุนในฟิลิปปินส์

3) ภาคบริการมีศักยภาพสูง ฟิลิปปินส์มีศักยภาพในการรับจ้างบริการธุรกิจ (Business Process Outsourcing : BPO) เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอินเดีย โดยเฉพาะธุรกิจ IT เห็นได้จากบริษัท BPO ระดับโลก อาทิ Ac-centure และ Convergys ล้วนใช้ฟิลิปปินส์เป็นศูนย์กลางการให้บริการ ทำให้คาดว่าธุรกิจ BPO จะสร้างรายได้กว่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2559 หรือคิดเป็น 8% ต่อ GDP

4) เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เติบโตสูง โดยในปี 2557 ขยายตัว 65% จากปี 2556 สูงสุดในอาเซียน เนื่องจากมีปัจจัยดึงดูดจากตลาดขนาดใหญ่ ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ แรงงานทักษะมีราคาถูก ทำให้ในระยะถัดไป ภาคการผลิตของฟิลิปปินส์มีแนวโน้มจะเติบโตเข้ามาสนับสนุนภาคบริการอีกแรง หนึ่ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งมีนักลงทุนต่างชาติขยายฐานการผลิตเข้ามามากขึ้น อาทิ รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์

5) เสถียรภาพการเงินการคลังดี โดยดุลบัญชีเดินสะพัดปี 2557 เกินดุลกว่า 4% ต่อ GDP และมีการขาดดุลการคลังต่ำที่ 0.6% ต่อ GDP ประกอบกับหนี้สาธารณะต่ำที่ 45% ต่อ GDP ทำให้เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบจากกระแสเงินทุนไหลออกที่กำลังเกิด ขึ้นในปัจจุบันน้อยกว่าประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ สะท้อนจากค่าเงินเปโซในปี 2558 ที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นในอาเซียน อาทิ ริงกิตและรูเปียห์ที่ผันผวนสูง

นอกจากนี้ การที่ฟิลิปปินส์มีหนี้ครัวเรือนต่ำเพียง 6% ต่อ GDP ทำให้ยังมีช่องว่างในการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อเร่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะถัดไป

หากมองในแง่การส่งออกของไทย ฟิลิปปินส์กำลังก้าวเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยการส่งออกของไทยไปฟิลิปปินส์ เดือน ต.ค. 2558 ขยายตัวถึง 15.8% สูงสุดในตลาดอาเซียนทั้งหมด ขณะที่สัดส่วนการส่งออกของไทยไปฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นจาก 1.8% ในปี 2548 มาอยู่ที่ 3.9% ในเดือน ต.ค. 2558 กลายเป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 ของไทยในอาเซียน แซงหน้าสิงคโปร์และอินโดนีเซียแล้ว อีกทั้งหากมองในแง่สินค้า พบว่าฟิลิปปินส์ได้กลายเป็นตลาดส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบอันดับ 2 ของไทย รองจากออสเตรเลีย

นอกจากนี้ อุปสงค์ในประเทศฟิลิปปินส์ที่เติบโตอย่างโดดเด่นได้ส่งผลดีต่อสินค้าส่งออกของไทยอีกหลายรายการให้ขยายตัว

สวนทางกับการส่งออกไปตลาดโลก อาทิ ข้าว เครื่องดื่ม เครื่องจักรกล รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ปัจจัยดังกล่าวสะท้อนว่าฟิลิปปินส์เป็นอีกตลาดหนึ่งที่มีศักยภาพและไม่ควร มองข้ามในภาวะที่เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง

ทั้งนี้ แม้เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในภาพรวมจะมีแนวโน้มที่ดี แต่ก็ยังต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายอยู่หลายประการ อาทิ ความไม่แน่นอนของนโยบายหลังการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นกลางปี 2559 การกระจายรายได้ที่ยังไม่ทั่วถึง โครงสร้างพื้นฐานที่ยังต้องใช้เวลาในการพัฒนา ปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นโจทย์ที่ต้องเร่งแก้ไข เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจฟิลิปปินส์เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว สถานการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่

ผู้ประกอบการไทยต้องจับตามองอย่างใกล้ ชิด เพื่อแสวงหาโอกาสที่เกิดขึ้นให้ได้ทันท่วงที ขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมรับมือกับคู่แข่งทางการค้าการลงทุนจากฟิลิปปินส์ที่ จะแข็งแกร่งขึ้นด้วย

ทำไมฟิลิปปินส์จึงเข้าร่วมสมาชิกอาเซียน

เหตุผลที่ฟิลิปปินส์เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน

ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งใน 5 ประเทศที่ร่วมก่อตั้งอาเซียนในปี 2510 โดยการร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ ของนายนาชิโช รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สืบเนื่องจาก ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ถูกครอบงำโดยจักรวรรดินิยมตะวันตกมาเป็นเวลานานถึง 425 ปี[ภายหลังจากได้รับเอกราชจากสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์จึงได้ดำเนินนโยบายเสรีนิยมและนิยมสหรัฐมาโดยตลอด ทั้งการส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็น เช่น สงครามเวียดนาม และสงครามเกาหลี รวมถึงการร่วมเป็นสมาชิกขององค์การ SEATO เพื่อการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ทำให้ในระยะแรก นโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์ยังคงตั้งอยู่บนรากฐานของการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นสำคัญ กระทั่งมีความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโลกโดยสหรัฐหันมาสร้างความสัมพันธ์กับจีน ทำให้ฟิลิปปินส์ต้องหันไปคบค้ากับจีน และพยายามแสวงหาการค้ำประกันเกี่ยวกับภาวะความมั่นคงด้านการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศ ด้วยการเข้ามามีบทบาทในองค์การส่วนภูมิภาคอย่างสมาคมอาเซียน
        แม้ว่าฟิลิปปินส์จะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีนักต่อการร่วมมือระหว่างประเทศในอดีต (สมาคมอาสา และมาฟิลินโด) แต่ก็ยังคงมีความตั้งใจในการเข้ามาเป็นสมาชิกของอาเซียน เพื่อผลประโยชน์ในการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมและความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิก และเพื่อแสดงถึงการเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของชาวฟิลิปปินส์ ที่มักถูกมองโดยสมาชิกอาเซียนว่าไม่ค่อยจะเป็นคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สักเท่าไหร่ เนื่องจากมีวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงศาสนาเป็นแบบตะวันตก นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังมีความเชื่อว่าการเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนจะช่วยรักษาความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจและการทหารของฟิลิปปินส์ เพื่อเตรียมรับกับการที่สหรัฐจะถอนทหารอเมริกันและยกเลิกฐานทัพในฟิลิปปินส์ การเข้าร่วมอาเซียนจึงเป็นหลักประกันได้ว่าฟิลิปปินส์สามารถที่จะมีกลุ่มประเทศคอยให้การสนับสนุนทั้งทางเศรษฐกิจและทางการทหาร โดยกลุ่มประเทศอาเซียนจะเป็นแหล่งการค้าแหล่งใหม่ให้แก่ฟิลิปปินส์ และจะมีการขยายความร่วมมือด้านการทหารของอาเซียน (ซึ่งข้อหลังนี้ไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิก)

สกุลเงิน ประเทศฟิลิปปินส์


สกุลเงิน ประเทศฟิลิปปินส์








ประเทศฟิลิปปินส์ หรือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใช้สกุลเงิน “เปโซ” (Philippine Peso : PHP) 
อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1.40 เปโซ เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับ

20 เปโซ
50 เปโซ
100 เปโซ,
200 เปโซ
500 เปโซ 
1,000 เปโซ

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างเศรษฐกิจเวียดนาม

โครงสร้างเศรษฐกิจเวียดนาม


        
เวียดนาม มีระบบเศรษฐกิจแบบอาศัยกลไกการตลาด โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติตามราคาตลาดหรือ GDP ประมาณ 48.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.2 จำแนกเป็นสัดส่วนของภาคการผลิตที่สำคัญได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 42 ภาคบริการร้อยละ 38 และภาคการเกษตรร้อยละ 20

1. ภาคการเกษตร ประกอบด้วยผลผลิตที่สำคัญได้แก่ ข้าว กาแฟ ยางพารา พริกไทย ข้าวโพด ชา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และสินค้าประมง

2. ภาคอุตสาหกรรม น้ำมันดิบ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าอีเล็คทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เหล็ก และสินค้าอุปโภคบริโภค

3. ภาคบริการ ที่สำคัญได้แก่ การค้าส่งและค้าปลีก การธนาคารและสถาบันการเงิน โทรคมนาคม การท่องเที่ยว และโรงแรม

สภาวะเศรษฐกิจของเวียดนาม



สภาวะเศรษฐกิจของเวียดนาม


เวียดนาม มีระบบเศรษฐกิจแบบอาศัยกลไกการตลาด โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติตามราคาตลาดหรือ GDP  ประมาณ 48.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ  ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.2 จำแนกเป็นสัดส่วนของภาคการผลิตที่สำคัญได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 42  ภาคบริการร้อยละ 38 และภาคการเกษตรร้อยละ 20
                 1. ภาคการเกษตร ประกอบด้วยผลผลิตที่สำคัญได้แก่ ข้าว กาแฟ ยางพารา พริกไทย ข้าวโพด ชา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และสินค้าประมง
                 2. ภาคอุตสาหกรรม น้ำมันดิบ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าอีเล็คทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เหล็ก และสินค้าอุปโภคบริโภค
                 3. ภาคบริการ ที่สำคัญได้แก่ การค้าส่งและค้าปลีก การธนาคารและสถาบันการเงิน โทรคมนาคม  การท่องเที่ยว และโรงแรม


ทำไมเวียดนามจึงเข้าร่วมสมาชิกอาเซียน





เหตุผลที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน

การสนับสนุนและความช่วยเหลือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมจากประเทศสมาชิกอาเซียน การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนจะทำให้เวียดนามมีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการ พัฒนาประเทศจากสมาชิกต่างๆ อันจะมีส่วนเอื้ออำนวยและเร่งการพัฒนาของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดซึ่ง ตั้งอยู่บนหลักการของการแข่งขันได้ในที่สุด

ถ้าเวียดนามได้เป็นสมาชิกของอาเซียน จะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในเขตการค้าเสรีอาเซียน และนำเวียดนามไปสู่ความคุ้นเคยกับแนวทางปฏิบัติในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจใน ระดับโลก อันจะมีผลดีและเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่จะผลักดันเวียดนามให้ก้าวไปสู้การ เป็นสมาชิกของ APEC และ WTO ได้ในที่สุด
ถ้าเวียดนามได้เป็นสมาชิกของอาเซียน ทางเวียดนามก็จะได้ปรับทิศทางการส่งออกของตนเองที่จะไปสู่ตลาดอาเซียน อย่างจริงจังมากขึ้น

ในด้านการลงทุน ทั้งเวียดนามและประเทศในกลุ่มอาเซียนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการที่ ประเทศในกลุ่มอาเซียนเข้าไปลงทุนในเวียดนามโดยเวียดนามจะสามารถดูดซึมเทคนิค วิทยาการและเทคโนโลยีที่ผ่านมากับการลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการร่วมทุน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการผลิตของเวียดนาม


สกุลเงิน ประเทศเวียดนาม

สกุลเงินประเทศเวียดนาม


เงินเวียดนามได้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ เหรียญและธนบัตร โดยมูลค่าเงินที่มีทั้งเหรียญและธนบัตรก็คือ

  •  200 ด่ง (ฮายจำด่ง)
  •  500 ด่ง (นัมจำด่ง) 
  • 1000 ด่ง (หมดหงิ่นด่ง) 
  • 2000 ด่ง (ฮายหงิ่นด่ง)
  •  5000 ด่ง (นัมหงิ่นด่ง)  
ส่วนเงินตั้งแต่ 10000 ด่ง (เหมื่อยหงิ่นด่ง) ขึ้นไปจะมีเฉพาะธนบัตร คือ

  • 10000 ด่ง (เหมื่อยหงิ่นด่ง) 
  • 20000 ด่ง (ฮายเมือยหงิ่นด่ง) 
  • 50000 ด่ง (นัมเมือยหงิ่นด่ง)  
  • 100000 ด่ง (หมดจำหงิ่นด่ง) 
  • 200000 ด่ง (ฮายจำหงิ่นด่ง) 
  • 500000 ด่ง (นัมจำหงิ่นด่ง) แต่เดี๋ยวนี้ ไม่มีการใช้เหรียญมีแต่ธนบัตรเพียงอย่างเดียว

วิธีคำนวนอัตราแลกเปลี่ยนคร่าวๆ ระหว่างเงินด่งกับเงินไทยก็ให้เอาเงินบาทหารครึ่งหนึ่ง แล้วเพิ่มเลข 0 อีก 3 ตัว ก็ได้มูลค่าเป็นเงินด่งเวียดนามแล้ว  อาทิเช่น 

100 บาท หารครึ่งหนึ่ง จะเป็น 50 แล้วเพิ่มเลข 0 อีก 3 ตัว จะเป็น 50000 ด่ง (นำเมือยหงิ่นด่ง)  
1000 บาทแลกเป็นเงินเวียดนามได้ 500000 ด่ง (นัมจำหงิ่นด่ง) ซึ่งนี่ก็เป็นการคำนวนโดยคร่าวๆเท่านั้น เพราะจะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ จะขึ้นอยู่กับช่วงที่ท่านแลกเงินและอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเงินบาทกับเงินด่งปัจจุบันคือ 1บาท=700ด่ง