โครงสร้างเศรษฐกิจฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน หรือประมาณ 96.7 ล้านคน และมีอัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 6% ต่อปีทั้งนี้ ฟิลิปปินส์มีการพึ่งพาการบริโภคในประเทศเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการบริโภคต่อ GDP สูงถึงร้อยละ 73 รองลงมาคือ การส่งออก การสะสมทุน และการใช้จ่ายภาครัฐทั้งนี้ ระบบเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์มีลักษณะคล้ายไทยคือเป็นประเทศเกษตรกรรมโดยมีประชากรร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร9 สำหรับความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทยนั้น ฟิลิปปินส์เป็นคู่ค้าล าดับที่ 18 ของไทย ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าล าดับที่ 8 ของฟิลิปปินส์10
ประชากรฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบด้านทักษะ ภาษาอังกฤษและภาษาสเปน ฟิลิปปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศเพื่อการพัฒนาประเทศ เป็นส่วนใหญ่ดังนั้น รายได้ของแรงงานฟิลิปปินส์ที่ส่งกลับประเทศ (Cash Remittance) จึงมีส่วนส าคัญต่อการใช้ จ่ายเพื่อการบริโภคในประเทศ ทั้งนี้ แหล่งที่มาของรายได้โอนกลับ 5 อันดับแรก11 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ซาอุดิอาระเบีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และสิงคโปร์ ตามล าดับ
สำหรับด้านการพัฒนาประเทศนั้น The National Economic and Development Authority (NEDA)ได้จัดทำแผนพัฒนาปี 2554-2559 ขึ้น (The Philippine Development Plan 2011-2016)
เพื่อใช้เป็นกรอบ กำหนดทิศทางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แผนดังกล่าวเน้นเสริมสร้างธรรมภิบาลและต่อต้านการทุจริต โดยมี ยุทธศาสตร์หลัก 3 ประการ ดังนี้
(1) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงและยั่งยืน และสร้างโอกาสการจ้าง งานอย่างเป็นธรรม
(2) การพัฒนาพื้นที่ห่างไกลเพื่อลดความแตกต่างของรายได้ และความเลื่อมล้ าทางสังคม
เพื่อให้แน่ใจว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะสามารถช่วยลดปัญหาความยากจนได้
(3) การเพิ่มประสิทธิผลของโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (Social Safety Nets) เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ไม่ สามารถปรับตัวให้ทันกับการเจริญเติบโตที่รวดเร็วของเศรษฐกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น